วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

พระมหากษัตริย์ไทย พ่อหลวงของแผ่นดิน

 
เศรษฐกิจพอเพียง ( อังกฤษ : sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงระดับรัฐบาลในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปในที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม
ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง คำว่า ความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภาย ใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัต นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น" การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจ จะหามาได้ถ้าปราศจาก เงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาแต่นมนาน การได้มาซึ่งเงินนั้น จำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ แล้วนำเงินที่ได้มานั้น ไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของ บุคคลนั้นโดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางใน ขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมในปัจจุบัน ได้ถูกปลูกฝัง หรือสร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ในแง่เศรษฐกิจมหภาค ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงอาจจะทำให้ระดับการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นไปได้เนื่องจากประชาชนจะไม่กู้หนี้ยืมสินเพื่อมาใช้จ่าย แต่อาจทำให้กำลังการใช้จ่ายสะท้อนภาพจริงของเศรษฐกิจ

การนำไปใช้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๐ นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่วิเคราะห์หรือตั้งคำถาม เนื่องจากประเพณี สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง" คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง สมเกียรติได้ให้สัมภาษณ์วิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ว่า "รัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แต่พูดเหมือนคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณพูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ลงไป ซึ่งรัฐบาลนี้ต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรม และสังคม" สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่า ความไม่เข้าใจ นี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จาก การสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

พ่อหลวง


ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น
ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยพระราชทานแก่ คณะผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ว่า
"หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก
เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้"
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัย แล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัย / เลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน ๓:๓:๓:๑ เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
  • มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
  • มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
  • มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย ๓ ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้
พื้นที่โครงการตามแนวทฤษฎีใหม่
  • โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โครงการทฤษฎีใหม่ปักธงชัย หรือ ทฤษฎีใหม่บ้านฉัตรมงคล ตำบลปักธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • โครงการทฤษฎีใหม่ปากท่อ , โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลวันดาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
  • ทฤษฎีใหม่หนองหม้อ ตำบลหนองหม้อ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์


ฝนหลวง


โครงการฝนหลวง คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร

ประวัติ

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ " ฝนหลวง " ให้กับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป

ฝนหลวง

การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย สูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ สูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

วิธีการทำฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ ( มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ ) เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ ( เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย ) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
  • เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
  • เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
  • เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี ๒๐๐-๔๐๐ กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
  • เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
  • เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
  • เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ ๒ แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.๑, FM.๕ เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น
  • เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน ๘ รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล / ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด ๒๐ นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่

เกล็ดความรู้

การทำน้ำเต้าหู้
ส่วนผสมการทำน้ำเต้าหู้
ถั่วเหลือง 1 กิโล
นมข้นหวาน 1 กระป๋อง
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำเปล่า 6 ลิตร

วิธีการทำน้ำเต้าหู้
เริ่มต้นเราก็เอาถั่วเหลืองมาล้างให้สะอาด แช่น้ำไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง
พอเราแช่ถั่วเหลืองแล้วก็เก็บสิ่งสกปรกต่างๆ ออก
แล้วขยี้เอาเปลือกถั่วเหลืองออกให้หมด ล้างให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ให้นำถั่วเหลืองมาปั่นกับน้ำเปล่าสะอาดประมาณ 6 ลิตร
ต่อไปเราก็เอาน้ำถั่วเหลืองที่ปั่นไว้มากรองด้วยผ้าขาวบางประมาณ 3 ครั้ง
แล้วก็เอาน้ำนมถั่วเหลืองดิบที่ได้ไปต้ม ใส่ส่วนผสม เกลือป่น นมข้นหวาน คนให้เข้ากันแล้วต้มให้เดือดอีกประมาณ 10 นาที



- เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะได้นมถั่วเหลืองที่ไม่มีกลิ่นหืน จริงๆ เคล็ดลับการใส่นมข้นหวานนี้ไม่มีเจ้าไหนบอกกันหรอกนะ แต่ workdeena ได้ขอร้องเจ้าของสูตรการทำน้ำเต้าหู้ เพื่อที่จะไ้ด้สูตรลับสูตรนี้มาให้เพื่อนๆ ทุกคนที่สนใจจะทำน้ำเต้าหู้ขายเป็นอาชีพได้ทดลองทำและนำไปขายกันดู แล้วคุณจะรู้ว่าการทำน้ำเต้าหู้ขายสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
พันธุ์และช่วงเวลาปลูกข้าว

พันธุ์ข้าวมี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดไม่ไวแสง สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง มีอายุเก็บเกี่ยว 110 – 130 วัน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่
100 ถัง เนื่องจากตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2, ชัยนาท 1, กข. 23 ,เจ้าหอมคลองหลวง1 ,
และเจ้าหอมสุพรรณบุรี

ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานโดยวิธีการปักดำ หรือหว่านข้าวตมอย่างไรก็ดี ไม่แนะ
นำให้ปลูกติดต่อกันตลอดปีเป็นเวลานาน ควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดู จะช่วยตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพดินที่
ใช้เพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์

2. ชนิดไวแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด ส่วนมากให้ผลผลิตไม่สูงมากเพราะ
ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 , กข.15 , ขาวตาแห้ง 17 , เหลืองประทิว 123 , และปิ่นแก้ว 56

ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม โดยนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมาให้ข้าวมีอายุ 92-120 วัน
(ถ้าใช้วิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง) ทั้งนี้ให้พิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตนาน้ำฝนอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ



วิธีการปลูกข้าว

การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ นาหว่าน นาหยอด และนาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ เช่นที่สูง ที่ลุ่ม ที่น้ำลึก สภาพน้ำ
เช่น เขตน้ำฝน เขตชลประทาน สภาพสังคม เช่น มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ เช่น มีเงินทุนมากหรือน้อย
มีรายละเอียด คือ

1. นาหว่าน ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด ยากแก่การปักดำข้าว หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถ
ควบคุมปริมาณน้ำได้ เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ (1) หว่านข้าวแห้งหรือหว่าน
สำรวย (2) หว่านข้าวตม หรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย

(1) การหว่านข้าวแห้ง มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้ โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน
เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่าน
ไว้จะได้งอก บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ

อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ วิธีนี้เรียกว่า
หว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก.

(2) การหว่านข้าวตม หรือหว่านข้าวงอก หรือหว่านเพาะเลย เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ
แช่น้ำสะอาด 12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม. จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ที่เรียกว่า ตุ่มตา แล้วหว่านลง
ในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี คือ ไถดะ ไถแปร และทำเทือกจนราบเรียบ วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก จำเป็นต้อง
หว่านในเทือกที่มีน้ำขัง แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่ง
ของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ด
พันธุ์ไร่ละ 10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 15 – 20 กก.

2. นาหยอด นิยมในสภาพพื้นที่สูง พื้นที่ไร่ หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก หยอดลง
ไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม หรือใช้ไม้กระทุ้ง ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว ในร่องที่ทำเตรียมไว้
แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าว
หลุมละ 5-6 เมล็ด ส่วนในที่ราบสูง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร
่ประมาณ 8-10 กก.

3. นาดำ เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการตกกล้า (2) ขั้นตอนการปักดำ ปัจจุบันเกษตรกรนิยม
ปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เลี้ยงมดแดงเพื่อการค้า

การปลูกผักหวานป่า

การเลี้ยงปลาดุก

เลี้ยงกบ ต้นทุนต่ำ ด้วยกระชังบนดิน

ปลูกพริกง่ายๆๆ

การปลุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ

พอเพียง

รถเกี่ยวข้าวครับผม

การปลูกมะละกอ

การปลูกแตงกวา

1ไร่1แสน

การปลูกอ้อย100ตันต่อไร่

การตัดอ้อยแบบใช้รถ

ปลูกอ้อยคั้นน้ำ


    ผลตอบแทนต่อไร่สูง       อ้อยที่ปลูกเพื่อคั้นเอาน้ำมาดื่มสด ๆ หากแช่เย็นหรือใส่น้ำแข็ง ก็จะได้รสชาติที่อร่อย หอม หวาน ดื่มในขณะอากาศร้อน ก็จะดับร้อนผ่อนกระหายได้ดี หรือที่เรียกอ้อยประเภทนี้ว่า "อ้อยคั้นน้ำ"          ผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำ กล่าวว่า เกษตรกรปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สิงคโปร์ และพันธุ์เมอริชาร์ท ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 1,060 กอ โดยใช้ระยะปลูก 1.50 x 1 เมตร หลังปลูก 8 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เฉลี่ยกอละจำนวน 5 – 6 ลำ จะได้อ้อยอย่างน้อย 5,000 ลำต่อไร่ " ใน 1 ไร่ จะได้อ้อยขั้นต่ำ 5,000 ลำ ขายในพื้นที่ ราคาลำละ 10 บาท เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ย 50,000 บาทต่อไร่ หรือคั้นน้ำอ้อยบรรจุขวดขาย อ้อย 1 ลำ คั้นน้ำอ้อยได้ 3 – 4 ขวด (ขวด ขนาด 350 ซีซี) ขายขวดละ 10 บาท เท่ากับ 30 – 40 บาทต่อลำ ใน 1 ไร่ จะทำให้มีรายได้ประมาณ 150,000 – 200,000 บาท นอกจากนี้ ยังขายเป็นอ้อยควั่น อ้อย 1 ลำ ขายเป็นอ้อยควั่นได้ 5 – 6 ถุง ๆ ละ 10 บาท นับว่าเป็นรายได้เสริมจากการทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ได้ดีเลยทีเดียว" นายพงษ์ศักดิ์ พาคำ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 40/2 บ้านหนองแวง ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่อดีตปลูกอ้อยโรงงาน มีรายได้ไร่ละ 5,000 - 6,000 บาท แต่ต่อมาหันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำขาย มีรายได้สูงถึงละ 80,000 บาท นายพงษ์ศักดิ์ ได้ปลูกอ้อยคั้นน้ำตั้งแต่ปี 2541 เริ่มจาก 1 งาน และขยายพื้นที่ปลูกทุกปี ปัจจุบันปลูก 15 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน /ไร่ ขายผลผลิตได้ 2 ลักษณะ คือ "ขายลำ" ก.ก. ละ 2 บาท อ้อยลำหนึ่ง ได้น้ำหนัก 4 ก.ก. (ลำละ 4 บาท) มีรายได้ไร่ละ 20,000 บาท อีกลักษณะหนึ่งคือ "คั้นน้ำขาย" โดยใช้เครื่องคั้นน้ำติดรถมอเตอร์ไซด์พ่วงไปขายตามที่ต่าง ๆ ทำให้มีรายได้สูงถึงไร่ละ 80,000 บาท ซึ่งอ้อยคั้นน้ำ นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกร (ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้ปลูกอ้อยคั้นน้ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรทำการเกษตรหลาย ๆ อย่าง จะเป็นการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคาด้วย)
     
     

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การส่งออกข้าว
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547
 
การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ
โกดังข้าว
 
ขนกระสอบขึ้นเรือเพื่อส่งออก
ขนกระสอบขึ้นเรือเพื่อส่งออก
 
จะเห็นว่าวิวัฒนาการค้าข้าวไทยที่ผ่านมานับศตวรรษ ได้สะท้อนถึงภูมิปัญญาของคนไทย จากภูมิปัญญาพื้นบ้านมาสู่การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนวิธีการลงทุน การบริหารจัดการกิจการขนาดเล็กในชุมชนไปสู่การทำธุรกิจการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง จนข้าวเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศไทย และสามารถครองความเป็นหนึ่งของโลกด้านการค้าข้าว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าข้าวอย่างเสรีในปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ไทยต้องปรับปรุงต้นทุนการผลิต ระบบการผลิต และกระบวนการส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกและรักษาความเป็นผู้นำการค้าข้าวในตลาดโลกต่อไป
 
 
สถิติการส่งออกข้าวไทยระหว่างปี พ.ศ. 2470 - 2546

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวต่างประเทศ
 

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

19 แง่คิดดี

.1. ความรักที่แท้จริงก็เหมือนกับเกมจิ๊กซอร์ ชิ้นส่วนทั้งหมดจะสามารถค้นพบตัวเองได้ก็ต่อเมื่อแต่ละชิ้นสามารถหาชิ้นที่"ใช่"สำหรับตัวมันเอง 


2. รบกวนคุณใช้เวลาในการอ่านและคิดตาม เพียง 2-3 นาทีเท่านั้น โปรดอย่าเก็บคำสอนนี้ไว้คนเดียวมิเช่นนั้นมนตราที่ส่งมานี้จะจากคุณไปภายใน 96 ชั่วโมง แล้วคุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมาก 

ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต 

 1.ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรัก 
และความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน 

 2. เมื่อคุณแพ้ อย่าลืมเก็บไว้เป็นบทเรียน 

 3. จงปฏิบัติตาม 3Rs 

3.1 เคารพตนเอง (Respect for self)หากเราไม่เคารพตัวเองแล้ว ใครจะเคารพเราจงพึงสังวรณ์ไว้ 

3.2 เคารพผู้อื่น (Respect for others) เมื่อเราเคารพตัวเองแล้วเราต้องเคารพคนอื่นด้วย 

3.3 รับผิดชอบต่อการกระทำของตน (Responsibility for allyour actions) 
หากเราไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของเราแล้วใครจะมาเคารพเรารับผิดแทนเรา 


4.จงจำไว้ว่าการที่ไม่ทำตามใจปรารถนาของตนบางครั้งก็ให้โชคอย่างน่ามหัศจรรย์ 


5. จงเรียนรู้กฎ เพื่อจะทราบวิธีการฝ่าฝืนอย่างเหมาะสม 


6. จงอย่าปล่อยให้การทะเลาะเบาะแว้งด้วยเรื่อง เพียงเล็กน้อย มาทำลายมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ของคุณ 


7. เมื่อคุณรู้ว่าทำผิด จงอย่ารอช้าที่จะแก้ไข 


8. จงใช้เวลาในการอยู่ลำพังผู้เดียวในแต่ละวัน 


9. จงอ้าแขนรับการเปลี่ยนแปลงแต่อย่าปล่อยให้คุณค่าของคุณหลุดลอยจากไป 


10. จงระลึกไว้ว่าบางครั้งความเงียบก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุด 

11. จงดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อที่ว่าเมื่อคุณสูงวัยขึ้นและ คิดหวนกลับคุณจะสามารถมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำลงไปได้อีกครั้ง 


12. บรรยากาศอันอบอุ่นในครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต 


13. เมื่อเกิดขัดใจกับคนที่คุณรัก ให้หยุดไว้แค่เรื่องปัจจุบันอย่าขุดคุ้ยเรื่องในอดีต 


14. จงแบ่งปันความรู้ เพื่อเป็นหนทางก้าวสู่ความเป็นอมตะ 


15. จงสุภาพกับโลกใบนี้ 


16. จงหาโอกาสท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ 
ที่คุณไม่เคยไป อย่างน้อยก็ปีละครั้งเพื่อทำการลบความคิดแบบเก่าๆ ออกบ้าง 


17. จำไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือความรักมิใช่ความใคร่ 


18. จงตัดสินความสำเร็จของตน ด้วยสิ่งที่ต้องเสียสละ 


19. จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง 

ทุ่งกุลาร้องไห้

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทำไรเนี่ย!!

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา

เครื่องมือทำนาแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในวัสดุที่ทำจากท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายชื่อที่เรียกแตกต่างกัน และมีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้แต่ละภูมิภาค  เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องมือพื้นบ้านและเครื่องมือแบบสมัยใหม่
 
เครื่องมือทำนาแบบพื้นบ้าน
เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมดิน
 คันไถ เครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควาย
 แอก เครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายหรือวัวเพื่อที่จะไถ แอกมี 2 ชนิดคือ แอกวัวควายคู่ กับ แอกวัวควายเดี่ยว
 คราด เครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่ และ คราดวัวควายเดี่ยว
 ก๋วยกล้า เครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่กำกล้าหรือขนย้ายสิ่งของ มักใช้ทางภาคเหนือ
 ม้าหาบข้าว ใช้ในการเรียงต้นกล้าหรือฟ่อนข้าวในคันหลาว
 ไม้หาบกล้า (บางถิ่นเรียกคันหลาว) ใช้สำหรับหาบต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำ
 ตอก เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับมัดฟ่อนหรือกำกล้า มีอยู่ 2 ชนิดคือ ตอกมัดฟ่อนข้าว กับ ตอกมัดกำกล้า
 จอบ เครื่องมือสำหรับดายหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน
 คันไถ
 
 
 
 
 
 
เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว
 เคียว เครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง เคียวมี 2 ชนิดคือ เคียวงอ กับ เคียวลา
 แกระ/แกะ เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้
 ไม้หนีบ เป็นไม้คู่หนึ่งใช้หนีบมัดรวงข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือม้ารองนวดข้าว หัวไม้ผูกติดกันด้วยเชือก
 ม้ารองนวดข้าว เอาไว้ใช้สำหรับรองรับฟ่อนข้าวเพื่อนวดหรือฟาดเพื่อตีเมล็ดข้าวจะได้หลุดร่วง
 ฟอยหนาม ใช้กวาดเศษฝุ่นและเศษฟางออกจากกองข้าวเปลือก
 ขาหมา เป็นเครื่องมือใช้หาบข้าว ประกอบด้วยตัวขาหมาทำจากไม้ไผ่เป็นรูปกากบาท 2 คู่ ขาไม้ทะลุตัวไม้ขึ้นมาทำเป็นกะบะสำหรับใส่รวงข้าวบุด้วยเสื่อรำแพน
 พัดวี ใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกองข้าวเปลือก

เคียว
ไม้หนีบ

ขาหมา
พัดวี
เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว
 ครกกระเดื่อง ใช้ตำข้าวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง
 ครกซ้อมมือ ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร
 กระด้ง ใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่น แกลบ ออกจากเมล็ดข้าว
 ตะแกรง ใช้สำหรับร่อนแยกเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว]












เครื่องมือทำนาแบบสมัยใหม่
เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมดิน
 รถไถนา ใช้ทั้งเตรียมดินนาหว่าน นาดำ และคราด
 รถแทรคเตอร์ เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพง
 เครื่องปักดำ ใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
 เครื่องสูบน้ำ ใช้สูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้าเป็นแรงหมุนมอเตอร์สูบ จากแม่น้ำ คลองชลประทานเข้ามาใช้ในนา
 
 
 
 
เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว
 รถเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ใช้สำหรับเกี่ยวและนวดข้าวไปพร้อมๆ กันเป็นรถแบบตีนตะขาบวิ่งได้ในนาที่มีพื้นที่เรียบ
 เครื่องนวดข้าว ใช้เครื่องยนต์ในการนวดข้าวให้ย่อยจากรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อต้องการนวดข้าวก็เอาเครื่องยนต์จากรถไถนาเดิมมาหมุนตามเครื่องนวดและ สามารถใช้กระสอบ หรือผืนผ้าใบมารองรับเมล็ดจากเครื่อง
เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว
 เครื่องสีข้าว ใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ออกมาเป็นแกลบและรำ
เครื่องสีข้าว
เครื่องสีข้าวกล้อง
เครื่องคัดข้าวสาร


ครกกระเดื่อง